โทษประหารชีวิต


 

โทษประหารชีวิต - เหี้ยมโหดและไม่จำเป็น

โรม (ฟีเดส) สถาบันนิรโทษกรรมนานาชาติแสดงความคิดเห็นว่า การเสด็จเยือนประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 พระองค์ทรงเน้นย้ำหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกการลงโทษด้วยวิธีการประหารชีวิต เนื่องจากเป็น "วิธีการลงโทษที่ไม่จำเป็นและเหี้ยมโหด"

พระองค์ทรงพบกับประธานาธิปดีคลินตัน ที่เมืองเซนต์หลุยส์ มลรัฐมิสซูรี่ สถานที่ซึ่งนายเคลวิน มาโลนี่ ได้ถูกประหารชีวิตไปเมื่อวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา นับเป็นรายที่ 505 ของการลงโทษด้วยวิธีการดังกล่าว ตั้งแต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำรูปแบบการลงโทษนี้มาใช้อีกครั้ง เมื่อปี ค.ศ.1976

ซิสเตอร์เฮเลน พรียีน สังกัดคณะนักบุญยอแซฟแห่งเมแดลลี่ ผู้ประพันธ์หนังสือ "คนตายเดินได้" (Dead Man Walking) หนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศอเมริกาและได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย ประสบการณ์ยาวนานจากการคลุกคลีช่วยเหลือคนยากจนที่หลุยส์เซียน่าอันเป็นบ้านเกิด และต่อมาที่นิวโอลีนทำให้มีแนวความคิดต่อต้านโทษประหารชีวิตเพราะเห็นว่ามีความรุนแรงเกินจำเป็น

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ซิสเตอร์เฮเลน ได้นำเสนอต่อองค์การสหประชาชาติ รายชื่อผู้มีชื่อเสียงระดับโลกประมาณ 100 ท่าน ในจำนวนนี้รวมถึงชื่อของนายนีลสัน แมนเดลา และท่านดาไล ละมะ ผู้ซึ่งให้การสนับสนุนการรณรงค์เพื่อขอยกเลิกการลงโทษด้วยการประหารชีวิต สำหรับ ปี ค.ศ.2000

เกี่ยวกับสถานภาพในประเทศอเมริกาต่อการเลือกใช้วิธีการลงโทษด้วยการประหารชีวิต ซิสเตอร์เฮเลนให้ความเห็นว่า การเมือง, สถานภาพทางเศรษฐกิจ และเชื้อชาติ มีผลต่อรูปคดี จากสถิติพบว่า 90% ของการพิจารณาคดี น้อยกว่า 1% ของคดีฆาตกรรมใน 20,000 ราย ใน 1 ปีจะได้รับโทษประหาร หรือ 85% ของนักโทษจำนวน 3,400 คน ที่รอการประหารเป็นคดีฆาตกรรมที่คนผิวดำกระทำต่อคนผิวขาว แม้จะพบว่าในจำนวนนี้ 50% ของผู้ตายจะเป็นชาวผิวดำก็ตาม

สิ่งที่น่าแปลกก็คือ นักโทษผิวดำที่ฆ่าคนผิวขาวจะได้รับโทษประหาร ขณะที่นักโทษผิวขาวที่ฆ่าชาวผิวดำจะไม่ได้รับบทลงโทษตามมาตรฐานเดียวกัน เชื้อชาติจึงมีบทบาทเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของบทลงโทษเช่นกัน นอกจากนี้ความยากจนและเงินยังมีส่วนเป็นตัวแปรรูปคดีด้วย

เหตุผลของการนำบทลงโทษรุนแรงถึงชีวิตกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง เป็นการแก้ปัญหาทางสังคมด้วยวิธีการกำจัดให้สิ้นซากตามแนวทางอาชญากรสงคราม เพราะสังคมมองผู้กระทำความผิดว่าเป็นศัตรูและเป็นภัยต่อสังคม การลงโทษด้วยวิธีอื่นหรือการอบรมไม่เคยอยู่ในความคิด อย่างไรก็ตามแนวความคิดนี้ไม่ใช่เป็นแนวทางที่คริสตชนพึงกระทำ รัฐเท็กซัส ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาเลือกใช้วิธีการประหารชีวิตมากที่สุด

แน่ทีเดียว ปัญหานี้เป็นปัญหาสังคม แม้นไม่มีนักการเมืองคนใดเห็นว่าความรุนแรงจะช่วยแก้ปัญหาสังคมนี้ได้ แต่หลายท่านกลัวเสียคะแนนเสียงเลือกตั้งหากคัดค้านบริบทของโทษประหารชีวิต เพราะพวกเขาต่างคิดว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการลงโทษถึงชีวิต

สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงคือเรื่องของการตัดสินผิดพลาด สถิติพบว่าระหว่างปี ค.ศ.1972-1993 นักโทษที่ได้รับโทษประหารไม่น้อยกว่า 48 คน ได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ เมื่อต่อมาพิสูจน์ได้ว่าเขาเหล่านี้บริสุทธิ์

อุดมสาร
14-20 มี.ค.42

Go Top
Back to Home Page