คนบางแสน

 

ในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์


ก้าวที่ 26 : วัดพระกุมารบังเกิด


Jerico  วันพุธที่ 18 เมษายน 2007 หลังจาก ไกด์จึงพาเราไปปล่อยลงที่ร้านขายของที่ระลึก ให้เราช้อปปิ้งกัน 2 เกือบชั่วโมง จึงพาเราไปยังวัดพระกุมารบังเกิด

  
Jerico วัดนี้สร้างครั้งแรกในสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน โดยพระราชมารดาราชินีเฮเลนา เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่เปิดใช้อยู่ในปัจจุบัน อยู่ในความดูแลของนักบวชนิกายกรีกออร์ธอร์ด๊อกซ์


Jerico จากที่จอดรถ เราเดินมายังบริเวณลานหน้าวัด เรียกว่า จัตุรัสรางหญ้า (Manger Square) ด้านหน้าวัดดูเหมือนป้อมค่ายมากกว่า กำแพงสูง วัดนี้ถูกล้อมด้วยอาราม 3 แห่ง คือกรีกออร์ธอร์ด๊อกซ์ อาร์เมเนียนออร์ธอร์ด๊อกซ์ และ นักบวชคณะฟรังซิสกัน          


Jerico ลานด้านหน้าวัด เป็นจุดสำคัญที่ใช้จัดกิจกรรมฉลองพระคริสตสมภพปีละถึง 3 ครั้ง


Jerico ฉลองจารีตลาตินหรือจารีตตะวันตก วันที่ 24 ธันวาคม


Jerico ส่วนจารีตตะวันออกของกรีกออร์ธอร์ด๊อกซ์ ฉลองวันที่ 6 มกราคม คือวันพระคริสต์แสดงองค์ต่อนักปราชญ์ 3 คน และสำหรับอาร์เมเนียนออร์ธอร์ด๊อกซ์ ฉลองวันที่ 19 มกราคม


Jerico เด็กยิวและหญิงมุสลิมฉลองคริสต์มาส


Jerico เราหยุดถ่ายรูปกันสักพัก ก่อนจะเข้าไปภายในวัดพระกุมารบังเกิด


Jerico ตรงกึ่งกลางภาพ มองเห็นทางเข้าเป็นประตูแคบๆ เตี้ยๆ สี่เหลี่ยมสีดำ


Jerico ด้านหน้า ในสมัยแรกมี 3 ประตู แต่เนื่องจากถูกข้าศึกรุกรานบ่อย สองประตูจึงถูกปิดตายด้วยกำแพง คงเหลือทางเข้าเป็นประตูแคบๆ เตี้ยๆ เวลาเดินเข้าไปต้องก้มหัว จึงเรียกกันว่า ประตูนอบน้อม (Door of Humility) เดิมประตูสูงมาก แต่ก็ถูกลดลงถึงสองครั้ง เพื่อป้องกันข้าศึกขี่ม้าเข้าไปข้างใน

             
 
Jerico วัดนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ มีรูปทรงเป็นกางเขน ยาว 53.9 เมตร กว้าง 26.2 เมตร 


Jerico ภายในวัดแบ่งเป็น 5 ช่อง โดยเสาหิน 4 แถว


Jerico บนเสามีภาพวาดของอัครสาวกและเหตุการณ์ต่างๆ


Jerico ที่พื้นตรงช่องกลาง มีหลุมขุดลึกลงไปเห็นพื้นวัดเดิมที่ปูด้วยโมเสคสมัยไบเซ็นไทน์


Jerico ที่ผนังบางส่วน ยังมีภาพโมเสคดั้งเดิมเหลืออยู่บ้าง ในศตวรรตที่ 7 ที่กองทัพบุกมาที่วัดนี้
พวกทหารเห็นภาพโมเสคบนผนังเป็นภาพกษัตริย์ 3 องค์แต่งกายเป็นอาหรับเปอร์เชีย จึงไม่ได้ผาทำลายวัดนี้


Jerico พระแท่นกลางวัด

 
Jerico สองข้างของพระแท่นกลางวัด มีบันไดสองด้านลงไปยังถ้ำ ที่เชื่อว่าเป็นถ้ำที่พระกุมารบังเกิด


Jerico ถ้ำมีรูปเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3.15 เมตร ยาว 12.3 เมตร ได้รับแสงสว่างจากตะเกียง 53 ดวง
(19 ดวง เป็นของนิกายจารีตลาติน ที่เหลือเป็นของจารีตออร์ธอร์ด๊อกซ์)


Jerico ระหว่างบรรไดลงไปในถ้ำสองด้วน จะมีพระแท่นพระกุมารบังเกิด


Jerico แท่นพระกุมารบังเกิด


Jerico ใต้พระแท่นผนังเป็นครึ่งวงกลม พื้นปูด้วยหินอ่อนสีขาว และบนพื้นมีดาวเงิน 14 แฉกประดับอยู่ พร้อมด้วยตัวอักษรภาษาลาตินว่า
HIC DE VIRGINE MARIA JESUS CHRISTUS NATUS EST. 1717.
แปลเป็นไทยว่า “ ที่นี่ พระเยซูคริสตเจ้าทรงบังเกิดจากพระนางพรหมจารีย์มารีย์ ”
มีตะเกียงระย้าจุดอยู่เหนือดาว 15 ดวง (เป็นของจารีตกรีก 6 ดวง อาร์เมเนียน 5 ดวง และของจารีตลาติน 4 ดวง)


Jerico ถัดจากพระแท่นพระกุมารบังเกิด มีพระแท่นอีกแห่งหนึ่งที่อุทิศแด่นักปราชญ์ 3 คน เดินทางมาจากทิศตะวันออก โดยอาศัยดาวเพื่อมาเฝ้าพระกุมาร


วันนี้คนเยอะมาก เราเข้าคิวเพื่อเข้าไปกราบและอธิษฐานสั้นบนดาวเงิน 14 แฉก และขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึกก็ยากลำบาก มีคนแน่นไปหมด


เสร็จแล้วกลับขึ้นไปข้างบน ไกด์รออยู่ที่ประตูด้านข้าง เพื่อพาเราไปวัดนักบุญคัทเธอรีน ที่อยู่ติดกัน

เชิญพบคุณแดง ตอนที่ 26


Back to Mainpage